บทความเกี่ยวกับนอนกรน Archive

ซื้อเครื่อง CPAP ที่ต่างประเทศ หรือ ในประเทศ แบบไหนดีกว่ากัน?

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า CPAP (ซีแพพ) ย่อมาจาก Continuous Positive Airway Pressure คือ เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกสำหรับใช้ในการรักษาผู้ที่มีสภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกลั้น (Obstructive Sleep Apnea, OSA) ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาดีที่สุดในโลก (ถ้าสามารถใช้งาน) และมีงานวิจัยรองรับมากที่สุดในโลก วันนี้ทางบริษัท ไม่กรน จำกัด จะขอแนะนำข้อดีและข้อเสียของการซื้อเครื่อง CPAP ที่ต่างประเทศและในประเทศ เริ่มกันเลยดีกว่า การซื้อเครื่อง CPAP ที่ต่างประเทศ ข้อดี ราคาถูกกว่าในประเทศไทย 2-3 เท่าตัว ทั้งตัวเครื่องและหน้ากาก – รุ่นเดียว ยี่ห้อเดียวกัน ในต่างประเทศราคาเพียง 35,000 บาท แต่ในไทยขายที่ 69,000 บาท ข้อเสีย จำเป็นต้อง setting เอง (แต่สามารถหาการตั้งค่าตาม youtube ได้) ไม่มีที่ปรึกษาในกรณีที่เครื่องมีปัญหา ไม่มีการรับประกันตัวเครื่อง ถ้าเกิดเครื่องมีปัญหาแล้วจำเป็นต้องให้ศูนย์ในประเทศไทยซ่อม จะมีค่าเปิดเครื่อง ...Read More

3 โรคความผิดปกติภายใต้การนอนหลับ (Sleep Disorder) ที่พบบ่อย

1. โรคลมหลับ (Narcolepsy) อาการง่วงนอน นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ เผลอหลับโดยไม่รู้ตัว ไม่ใช่นิสัยขี้เกียจหรือโรคจิต นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนภัยจากโรคลมหลับ เกิดจากการขาดสารสื่อประสาทในสมองตัวหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวหลั่งเพื่อแยกการหลับและการตื่น มักมีอาการหลับแทรกตื่นและตื่นแทรกหลับ เช่น นั่งคุยอยู่ดีๆ พอมีอารมณ์ขำก็ฟุปไป อีกสักพักก็ลุกขึ้นมาคุยใหม่ บางรายมีอาการผีอำ นอนขยับตัวไม่ได้ สักพักถึงจะลุกได้ หรือหูแว่ว…. โรคลมหลับส่วนใหญ่เกิดกับคนอายุน้อย บางคนเป็นตั้งแต่เด็กจนโต เรียกได้ว่าเป็นปัญหาระดับประเทศ เพราะส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ แล้วขับรถก็อาจเกิดอุบัติเหตุจากการหลับในได้ ปัจจุบันโรคนี้ยังไม่สามารถป้องกันได้ การตรวจ Sleep Test ในช่วงกลางคืน ตามด้วยการตรวจความง่วงนอนในช่วงกลางวัน ช่วยในการวินิจฉัยและตรวจวัดความรุนแรงของโรคได้ 2.นอนไม่เป็นเวลา (Circadian Rhythm Disorder) พบได้ในกลุ่มนักบิน นักธุรกิจที่นั่งเครื่องบินนานๆ มักเกิดภาวะนอนไม่หลับจากการเดินทางข้ามเส้นแบ่งเขตเวลา (Jet Lag) หรือผู้ที่ทำงานเป็นกะ ส่วนวัยรุ่นมักเกิดกับคนที่นอนดึกตื่นสาย หรือคนสูงอายุที่นอนแต่หัววันแต่ตื่นเช้า บ้างก็ตื่นกลางดึก การนอนตอนใกล้เช้าและตื่นตอนบ่ายหรือค่ำทำให้การนอนหลับผิดเพี้ยนไป ง่วงนอนในขณะเรียน/ทำงาน ทำให้ความจำแย่ ตื่นสาย…. ควรปรับเวลาเข้านอนให้คงที่ให้ร่างกายชินกับเวลานอน ร่วมกับสวมแว่นสีเหลือง เปิดไฟสีส้มอ่อนที่บ้านในช่วงค่ำ งดเล่นมือถือ ...Read More

อุปกรณ์แก้นอนกรนเลือกแบบไหนดี – MAD VS TSD?

ถ้า CPAP ไม่ใช่คำตอบในการแก้ปัญหานอนกรนและรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับของคุณ แล้วจะเลือกอะไรดี ระหว่าง MAD VS TSD สำหรับแก้ปัญหานอนกรนของคุณ? การนอนกรนเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่มีคนจำนวนน้อยเท่านั้นที่ให้ความสนใจ ซึ่งบางคนอาจจะไม่ได้มองว่ามันเป็นปัญหาใหญ่เท่าไรนัก ในขณะที่บางคนคิดว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องเสียเงินเพื่อแก้ปัญหาการนอนกรน แม้ว่าคนที่นอนร่วมห้องจะคอยบ่นกับพวกเขาถึงเสียงกรนอันน่ารำคาญอยู่บ่อยๆก็ตาม อย่างไรก็ตาม การนอนกรนนั้นสามารถทำให้ชีวิตของคุณแย่ลงได้เช่นกัน แม้กระทั่งกับผู้ที่ไม่สนใจว่าคนอื่นๆจะคิดกับพวกเขาอย่างไร เนื่องจากผู้ที่นอนกรนจะไม่ได้นอนหลับอย่างมีคุณภาพ ทำให้พวกเขาไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลากลางวัน เและไม่ใช่เพียงแค่ปัญหาการนอนกรนเท่านั้น คนจำนวนมากยังไม่รู้อีกว่า แท้จริงแล้วมันสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆได้อีกด้วย เนื่องจากเมื่อออกซิเจนไม่ได้ถูกส่งไปยังทั่วทั้งร่างกาย นั่นอาจจะทำให้อวัยวะภายในร่างกายของคุณทำงานผิดปกติ นอกจากนี้ การนอนกรนอาจจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การนอนกรนจึงเป็นอาการที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม และสำหรับผู้ที่คิดว่าการนอนกรนนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่ พวกเขาควรจะตระหนักถึงผลกระทบของมัน หากพวกเขายังคงต้องการมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพชีวิตที่ดี การรักษาการนอนกรนนั้น แท้จริงแล้วไม่ใช่กระบวนการที่ซับซ้อนแต่อย่างใด การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตเพียงเล็กน้อยนั้นก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยง่าย หากการนอนกรนนั้นไม่ได้เกิดจากอาการเจ็บป่วยจากโรคอื่นๆ เช่น ผู้ที่มีน้ำหนักเกินและนอนกรนอาจจะทำการลดน้ำหนักเพื่อช่วยลดความดันที่เกิดขึ้นในทางเดินหายใจ แต่ถ้าหากว่าน้ำหนักนั้นไม่ใช่ปัญหา การใช้เครื่องมือแก้กรนนั้นอาจจะเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยง่าย เมื่อนึกถึงอุปกรณ์แก้นอนกรนที่ไม่ใช่ CPAP แล้ว คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเครื่องมือ 2 ชนิดซึ่งได้แก่ MAD (Mandibular advancement device) หรือฟันยางแก้นอนกรน และ TSD ...Read More

สเปรย์แก้นอนกรน: ช่วยได้จริงหรือไม่?

การนอนกรนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่ากับใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน อายุเท่าไร ชนชาติไหน ต่างก็จำเป็นต้องเผชิญหน้ากับการนอนกรนในชีวิตประจำวันด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งวิธีการแก้ไขล่าสุดในปัจจุบันนั่นก็คือ การใช้สเปรย์แก้นอนกรน ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถใช้งานได้ง่าย และได้ผลแท้จริง มีผู้ใช้จำนวนมากที่ยอมจ่ายเงินเพียง 10 ดอลล่าห์เพื่อซื้อสเปรย์แก้กรนนี้ แต่คำถามคือ มันช่วยแก้นอนกรนได้จริงๆหรือ? สื่งที่สเปรย์แก้กรนอ้างถึง (Claim) การนอนกรนนั้นเกิดจากการที่กล้ามเนื้อบริเวณลำคอหย่อนคล้อย ซึ่งเป็นส่งผลให้ลิ้นของคุณตกไปด้านหลัง และทำให้ลำคอเกิดอาการหย่อนและแคบลง ซึ่งจากอ้างถึง (Claim) ของสเปรย์แก้กรนนั้นอ้างว่า สเปรย์สามารถช่วยหล่อลื่นเนื้อเยื่อในหลอดคอ ซึ่งจะช่วยทำให้ลดการสั่นและช่วยควบคุมเสียงจากการนอนกรนให้น้อยลงได้ ซึ่งส่วนผสมในสเปรย์นั้นประกอบไปด้วยเปเปอร์มินต์ เมนทอล น้ำ กลีเซอรีน และแอลกอฮอล์ โดยผู้ที่ใช้งานสเปรย์อย่างเป็นประจำได้กล่าวว่า การใช้สเปรย์นั้นให้ความรู้สึกคล้ายกับการอมยาอม นอกจากนี้ ควรใช้สเปรย์ก่อนการเข้านอนเป็นระยะเวลาประมาณ 30 นาที โดยที่สเปรย์หนึ่งขวดนั้นสามารถใช้งานได้ 30 วัน ทำไมสเปรย์แก้กรนถึงไม่ใช่คำตอบสำหรับคุณ อย่างไรก็ตาม มีผู้ใช้สเปรย์แก้กรนหลายรายได้พบว่า มันไม่ได้ช่วยลดอาการกรนให้น้อยลงเท่าไรนัก Dr. Craig Schwimmer ซึ่งเป็นผู้อำนวยการแพทย์ของศูนย์นอนกรน (Snoring Center) ใน Dallas ได้กล่าวไว้ว่า ...Read More

3 ท่าออกกำลังกายบริเวณช่องปาก ลดปัญหานอนกรน

คุณทราบดีอยู่แล้วว่าปัญหานอนกรนจะเกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้นเกิดการหย่อนระหว่างที่เราหลับ ดังนั้นถ้าเราสามารถทำให้กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น มีความแข็งแรงมากขึ้น อาการนอนกรนก็จะลดลงได้ วันนี้เรามี 3 ท่าออกบริเวณช่องปาก จากนักกายภาพบำบัดมาแนะนำกัน 1. ท่าออกกำลังกายสำหรับลิ้น เพื่อเพิ่มความตึงตัวและความแข็งแรงให้กับลิ้นและกล้ามเนื้อรอบลำคอ หน้ามองตรง ให้ตำแหน่งปลายลิ้นแตะที่ด้านหลังของฟันหน้า จากนั้นให้เลื่อนลิ้นกลับ ให้ทำซ้ำ 10 ครั้ง/รอบ เป็นจำนวน 4 รอบ/วัน 2. ท่าออกกำลังกายสำหรับเพดานอ่อน เพื่อให้หลอดลมขยาย อากาศจะได้สามารถเข้าไปในปอดได้มากขึ้น สูดหายใจเข้าเต็มที่ทางจมูก จากนั้นหายใจออกทางปาก โดยเม้มริมฝีปากเข้าหากัน ค้างไว้ 5 วินาที ขณะที่หายใจออกให้แขม่วท้องร่วมด้วย ให้ทำซ้ำ 10 ครั้ง/รอบ เป็นจำนวน 4 รอบ/วัน 3. ท่าออกกำลังกายสำหรับกล้ามเนื้อรอบลำคอ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบลำคอ อ้าปากให้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้นแลบลิ้นให้ยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำค้างไว้ 5 วินาที ให้ทำซ้ำ 10 ครั้ง/รอบ เป็นจำนวน 4 รอบ/วัน ...Read More