บทความเกี่ยวกับนอนกรน Archive

ระวัง! ภาวะหยุดหายใจขณะหลับส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกลั้น Obstructive sleep apnoea (OSA) คืออะไร? ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกลั้น เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณช่วงลำคอผ่อนคลายและตีบแคบในระหว่างที่เรานอนหลับ ทำให้การหายใจแบบปกติเกิดการติดขัด บางครั้งอาจมีการหยุดหายใจ 10 ถึง 20 วินาทีต่อครั้ง และสามารถเกิดขึ้นได้หลายร้อยครั้ง/คืน ซึ่งจะส่งผลให้ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดลดน้อยลง ซึ่งสมองก็จะได้รับออกซิเจนน้อยลงไปด้วย เมื่อสมองขาดออกซิเจนก็จะต้องคอยปลุกให้ผู้ป่วยตื่นเพื่อเริ่มหายใจใหม่ และเมื่อสมองได้รับออกซิเจนเพียงพอแล้ว ผู้ป่วยก็จะสามารถหลับลึกได้อีกครั้ง แต่ต่อมาการหายใจก็จะเริ่มขัดขึ้นอีก สมองก็ต้องปลุกตัวเองให้ตื่นขึ้นใหม่ วนเวียนเช่นนี้ตลอดคืน เป็นผลให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ไม่เต็มที่ ระดับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ – ระดับน้อย (mild) มีค่าดัชนีหยุดหายใจและหายใจแผ่วเบา (AHI) 5 -14 ครั้ง/ชั่วโมง และมีระดับออกซิเจนในเลือดที่ต่ำที่สุดขณะนอนหลับอยู่ในช่วง 86 – 90 – ระดับปานกลาง (moderate) มีค่าดัชนีหยุดหายใจและหายใจแผ่วเบา (AHI) 15 – 29 ครั้ง/ชั่วโมง และมีระดับออกซิเจนในเลือดที่ต่ำที่สุดขณะนอนหลับอยู่ในช่วง 70 – ...Read More

สาเหตุที่คุณไม่ควรมองข้ามอาการนอนกรน

“การนอนกรน ถูกวินิจฉัยมาเป็นเวลานานแล้วว่าเป็นสัญญาณความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด” การนอนกรนเป็นภาวะของร่างกายที่สามารถพบเห็นได้บ่อยในสังคมยุคปัจจุบัน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถละเลยภาวะอาการดังกล่าวได้ เนื่องจากการรักษาการนอนกรนได้นั้น นอกจากจะส่งผลดีต่อคนที่นอนหลับข้างๆ คุณ (รวมถึงตัวคุณเอง!) คุณยังมีความสุขกับการนอนหลับอย่างมีคุณภาพได้ยาวนานยิ่งขึ้น และยังช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่ตามมาได้อีกด้วย โรคความดันโลหิตสูง การนอนกรนเป็นสัญญาณเตือนของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากในเวลาที่คุณนอนกรน การหายใจของคุณจะถูกบังคับให้หยุดลงทันทีทันใด การหยุดชะงักของการหายใจจะทำให้เกิดภาวะความดันเลือดสูงขึ้นอย่างฉับพลัน ในขณะที่ระดับออกซิเจนจะลดลงและสมองของคุณจะสั่งการให้หลอดเลือดบีบรัดตัว นอกจากนี้ ภาวะความดันเลือดสูงสามารถคงอยู่ได้ตลอดทั้งวัน การศึกษาตลอดช่วงระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมาที่ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารยุโรปเกี่ยวกับการหายใจ (European Respiratory Journal) พบว่า การนอนกรนเป็น “ปัจจัยเสี่ยงอิสระของโรคความดันโลหิตสูง” ในผู้ชายที่มีอายุต่ำกว่าห้าสิบปี โรคหลอดเลือดสมอง มีงานวิจัยจำนวนมากพิสูจน์แล้วว่า การนอนกรนเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง แต่มีงานวิจัยฉบับหนึ่งที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิจัยเรื่องการนอนในปี 2003 ซึ่งชี้แจงว่า แท้จริงแล้วการนอนกรนในเวลากลางวันต่างหากที่อาจเพิ่มโอกาสการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกหนึ่งโรคที่อาจตามมากับการนอนกรน คือ โรคเบาหวานชนิดที่สอง เมื่อร่างกายของคุณถูกกระตุ้นให้รับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะปรับเข้าสู่โหมด “สู้หรือหนี” ซึ่งจะเพิ่มระดับความเครียดและระดับน้ำตาลในเลือดของคุณให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ปฏิกิริยาดังกล่าวของร่างกายจะนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานชนิดที่สอง งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมาพบว่า กลุ่มผู้หญิงราว 2,000 คนผู้ซึ่งได้รับการตรวจเช็คประวัติการสูบบุหรี่ ค่าดัชนีมวลกาย และประวัติการเป็นโรคเบาหวานของบิดามารดา มีภาวะของการนอนกรนซึ่งยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่สองได้ด้วยเช่นกัน References: http://www.thehealthsite.com/diseases-conditions/reasons-you-should-take-snoring-seriously-d0216/ ...Read More

การตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep test) คืออะไร?

การตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep test ) คืออะไร การตรวจสุขภาพการนอนหลับเป็น การตรวจสำคัญที่ใช้เพื่อวิเคราะห์การทำงานของระบบต่าง ๆของร่างกายระหว่างการนอนหลับ เช่น ระบบการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และกล้ามเนื้อ รวมถึง ศึกษาพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นขณะหลับด้วย ปัจจุบันถือว่าเป็นการตรวจมาตรฐานสากล (gold standard) สำหรับการวินิจฉัย โรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่โรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (obstructive sleep apnea; OSA) รวมถึงการกระตุกของกล้ามเนื้อต่างๆ และพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ เป็นต้น เมื่อไหร่จึงควรรับการตรวจ Sleep test ข้อบ่งชี้ที่สำคัญของการตรวจ sleep test ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหานอนกรนดังผิดปรกติ หรือมีอาการง่วงนอนกลางวันมากผิดปรกติ ทั้ง ๆ ที่ได้นอนอย่างเพียงพอแล้ว, ผู้ที่มีอาการหายใจลำบาก และสงสัยว่าจะมีการหยุดหายใจขณะหลับ หรือ ผู้ที่มีพฤติกรรมการนอน ผิดปรกติอื่น ๆ เช่น นอนแขนขากระตุก นอนกัดฟัน ...Read More

CPAP (ซีแพพ) คืออะไร?

CPAP (ซีแพพ) คืออะไร? CPAP (ซีแพพ) ย่อมาจาก Continuous Positive Airway Pressure คือ เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกสำหรับใช้ในการรักษาผู้ที่มีสภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกลั้น (Obstructive Sleep Apnea, OSA) CPAP มีหลักการในการรักษาคือ การเป่าความดันลมผ่านทางจมูกหรือปาก ผ่านบริเวณลำคอ และโคนลิ้น ซึ่งเป็นส่วนทางเดินหายใจส่วนต้น เพื่อให้เปิดขยายตัวตลอดเวลาโดยไม่ให้มีการอุดกั้นขณะที่นอนหลับ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ใช้เครื่องสามารถหายใจรับอากาศอย่างพอเพียงและนอนหลับราบรื่นตลอดทั้งคืน โดยลมที่เป่าด้วยความดันนี้มักเป็นเพียงอากาศปกติ ไม่ใช่การให้ออกซิเจนตามโรงพยาบาล (ยกเว้นในบางรายที่จำเป็นมากเท่านั้น) ข้อดีของการรักษาด้วย CPAP การรักษาด้วยเครื่อง CPAP นั้นตามรายงานการวิจัยทั่วโลก จัดว่าเป็นการรักษาภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับระดับปานกลางหรือรุนแรง ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในแบบที่ไม่ต้องผ่าตัด (ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) ถ้าท่านได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและปรับความดันที่เหมาะสมกับท่านที่สุดโดยแพทย์เฉพาะทาง และท่านได้ใช้เครื่องตลอดทั้งคืน จะข้อดีมีทั้งในระยะสั้น คือ ท่านจะไม่มีอาการนอนกรนและจะนอนหลับได้ดีขึ้นพร้อมกับได้รับอากาศอย่างเต็มที่ ตื่นขึ้นมาจะสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย หรือ ความง่วงนอนตอนกลางวันอย่างที่ท่านรู้สึกความแตกต่างได้ รวมถึงในระยะยาวจะลดความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อนหรืออาการอื่นๆที่เกิดจากภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับด้วย (ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) ปัญหาในการใช้ CPAP ได้แก่ จมูกอักเสบ แน่นจมูกในตอนเช้า ตาอักเสบ คอแห้ง ...Read More

ข้อดีและข้อเสียของ Travel CPAP

Travel CPAP คืออะไร? Travel CPAP คือ CPAP สำหรับใช้ในการเดินทาง ท่องเที่ยวโดยเฉพาะตามป่า ยอดเขา หรือสถานที่อื่นๆ ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีไฟฟ้า ข้อดีของ Travel CPAP – น้ำหนักเบา – ขนาดเล็ก – สามารถใช้แบตเตอรี่ หรือ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้ ข้อเสียของ Travel CPAP – การผ่อนลมหายใจออก ทำได้ไม่ค่อยดีนัก – ราคาสูงกว่า CPAP ปกติ ถ้าเทียบ spec กันแล้ว – ไม่มีการรายงานผลการใช้งานที่หน้าจอ ซึ่งปัจจุบัน เป็นพื้นฐานทั่วไปของ CPAP แล้วว่าต้องมี ผู้ที่คิดจะใช้ Travel CPAP ควรพิจารณาว่าต้องใช้ในลักษณะไหน ถ้าคุณเป็น sale จำเป็นต้องเดินทางบ่อย และนอนโรงแรม แบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ Travel ...Read More