Author Archive

การนอนหลับแบบ REM ที่ไม่ดีอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ

การนอนหลับแบบ REM ที่ไม่ดีอาจเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อความคิดวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า การนอนหลับแบบ REM (rapid eye movement – ภาวะนอนหลับที่ตาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว) เป็นระยะนอนหลับที่มีความฝันเกิดขั้นและการขาดการนอนหลับแบบ REM ที่ดีจะเกี่ยวข้องกับอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง แต่งานวิจัยใหม่ๆ ก็ถูกสร้างขึ้นบนความสัมพันธ์ดังกล่าวที่บอกว่าการนอนหลับแบบ REM ที่ไม่ดีและการ “กระสับกระส่าย” ในผู้ป่วยที่นอนไม่หลับอาจหันกลับมาบ่อนทำลายความสามารถของพวกเขาที่จะเอาชนะความทุกข์ทางอารมณ์ เพิ่มความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวลเรื้อรัง “การศึกษาก่อนหน้านี้ได้ชี้ไปที่การนอนหลับแบบ REM โดยผู้สมัครส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์” กล่าวโดยผู้เขียนนำ Rick Wassing เขาเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอกในภาคการนอนหลับและความรู้ความเข้าใจ ที่สถาบันประสาทเนเธอร์แลนด์ในอัมสเตอร์ดัม Wassing สังเกตเห็นเช่นว่าในขณะที่ REM เกิดขึ้น ฮอร์โมนเร้าอารมณ์ที่สำคัญเช่น serotonin, Adrenaline และ Dopamine จะไม่ได้ใช้งาน สิ่งที่เขาเพิ่มอาจบ่งชี้ว่าระหว่างการนอนหลับแบบ REM จะดีเมื่อผลกระทบทางอารมณ์ของความทรงจำมีการประมวลผลและได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง แต่เมื่อการหลับแบบ REM ถูกรบกวนความทุกข์ทางอารมณ์อาจสะสม และ Wassing กล่าวว่าผลการวิจัยในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลานี้ได้สะสม จนในที่สุดก็นำไปสู่การครบ “รอบ” ของ overarousal ในระหว่างการนอนไม่หลับ ...Read More

Reviews: รีวิว 4 อุปกรณ์แก้นอนกรนยอดนิยมจาก USA

สวัสดีครับ ผมนายศิวพงษ์ เกียรติเถลิงฤทธิ์ ผมนอนกรนมาตั้งแต่ตอนอยู่ชั้น ม.ปลาย แล้วครับ ทราบจากเวลาไปเที่ยวด้วยกันแล้วเพื่อนบอก เมื่อปีที่ผ่านมา ได้ทดลองซื้อ 4 สินค้าแก้นอนกรนที่ไม่ใช่ CPAP ที่เป็นที่นิยมอย่างมากใน USA มาใช้ วันนี้จะมารีวิวให้เพื่อนๆ ฟังครับว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง (ทั้งหมดล้วนเป็นความเห็นส่วนบุคคลเท่านั้น) 1. theravent เป็นที่ปิดจมูกสำหรับรักษาอากานอนกรน โดยใช้หลักการ expiratory positive airway pressure (EPAP) (ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) ฟังดูดีนะครับ แต่พอลองใช้แล้วไม่ work ครับ นอนไม่ได้เลย พยายามกว่า 7 วัน ก็ยังนอนไม่ได้ เวลาหายใจเข้าไม่ค่อยได้ อึดอัดใกล้เคียงกับ CPAP เลยครับ ถ้าเป็นแบบนี้ใช้ CPAP ดีกว่านะครับ 2. Zquiet (ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) เป็นที่ครอบฟันแก้นอนกรนที่นิยมอย่างมากใน usa มีทันตแพทย์แนะนำมากมาย การใช้งานก็ง่ายมาก ไม่ต้องพิมพ์ฟัน แกะจากกล่องแล้วสามารถใช้ได้เลย ...Read More

7 วิธีง่ายๆที่จะทำให้คุณนอนหลับสนิทมากขึ้นในแต่ละคืน

หากคุณเหนื่อยล้าอยู่ ขอให้รู้ไว้ว่าคุณไม่ได้เผชิญปัญหานี้แต่เพียงลำพัง ประมาณร้อยละ 40 ของอเมริกันชนไม่ได้หลับสนิทเป็นเวลา 7 ถึง 9 ชั่วโมงตามที่มีการแนะนำไว้ คุณอาจโทษตารางงานอันยุ่งเหยิงสำหรับการนอนหลับบางโอกาสที่คุณพลาดไป ทว่าตอนนี้เรามีข่าวดีมาให้คุณ การปรับวิถีชีวิตของคุณตามที่จะกล่าวต่อไปนี้อาจช่วยคุณในการเอาคุณภาพในการนอนหลับที่สูญหายของคุณกลับมาและเริ่มมีการ ครอกฟี้ ที่เหมาะสม 1. บริหารความเครียด ระดับความวิตกกังวลสูง สามารถทำให้คุณตื่นตัวในตอนกลางคืน ดังนั้นจงหาความเครียดของคุณซะ ไม่ว่าจะเป็นเส้นตายที่ทำงานหรือความขัดแย้งในครอบครัว เพื่อที่จะได้นอนหลับมากขึ้น การเขียนความกังวลของคุณลงสมุดบันทึกอาจช่วยในการนำสิ่งรบกวนจิตใจออกจากหัวมาอยู่บนกระดาษ การนั่งสมาธิและโยคะในระหว่างวันก็มีผลช่วยให้ร่างกายสงบได้เช่นกัน และจะเป็นสิ่งที่ช่วยคุณในยามนอน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุณควรจัดตารางแบ่งเวลาเพื่อการผ่อนคลายก่อนนอน 2. จัดตารางการออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ ผู้คนที่ออกกำลังกาย 30 นาที 3 ถึง 4 ครั้งต่อสัปดาห์ จะนอนหลับมากกว่าคนที่ไม่ได้จัดเวลาสำหรับช่วงเรียกเหงื่อ แต่ว่าเรื่องเวลาอาจจะเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อคุณออกกกำลังกาย อุณหภูมิของร่างกายคุณจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นหากคุณออกกกำลังกายอย่างหนักใกล้เวลานอนมาก อาจทำให้คุณหลับได้ยากขึ้น หากคุณพบว่าหากการออกกำลังตอนค่ำทำให้คุณนอนได้ไม่เต็มอิ่มแล้วล่ะก็ ให้ปรับตารางเวลาเสียใหม่ให้เป็นสามถึงสี่ชั่วโมงก่อนเวลานอนหรือทำการออกกำลังกายรูปแบบที่สงบอย่างเช่น โยคะ ช่วงใกล้เวลานอน 3. ลดคาเฟอีน การดื่มกาแฟ ชา โซดา หรือเครื่องดื่มบำรุงกำลังใกล้เวลานอนมากเกินไปทำให้คุณนอนหลับได้ยากขึ้นและประสบความลำบากในการนอนหลับให้ลึกและฟื้นฟูกำลัง เนื่องจากคาเฟอีนมีฤทธิ์เป็นสารกระตุ้น ...Read More

ปัญหาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

ปัญหาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร? เราไปเจอข้อมูลดีดีจากศิริราชมาครับ โดย ศ.นพ.ประเสริฐ อัสสันตชัย เป็นผู้เขียนบทความนี้ เมื่อผู้สูงอายุนอนไม่หลับ เมื่อเอ่ยถึงความชรา ท่านผู้อ่านคงนึกถึงคนที่มีผมสีดอกเลา เดินหลังค่อมเล็กน้อย ผิวหนังหยาบกร้านและเหี่ยวย่น แต่นั่นเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้จากภายนอก มีใครบ้างที่คิดว่าความชรายังมีผลกระทบไม่น้อยต่อการเปลี่ยนแปลงในอวัยวะระบบต่างๆ หนึ่งในอวัยวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนนั้นก็คือ สมอง อวัยวะที่มีน้ำหนักราว 1400 กรัม ในศีรษะของเรานั่นเอง อาการนอนไม่หลับก็เป็นอาการหนึ่งที่เกิดจากสมองทำงานไม่เป็นปกติ เช่นเดียวกับอาการหมดสติหรือหลับไม่ยอมตื่น แต่อย่างหลังดูจะทำให้ญาติหรือคนใกล้ชิดตกใจได้มากวก่าและรีบพาไปพบแพทย์ ขณะที่ผู้สูงอายุที่มีอาการนอนไม่หลับ ญาติมักจะปล่อยปละละเลย บางครั้งผู้ป่วยก็มักจะแก้ปัญหาด้วยการไปซื้อยานอนหลับมารับประทานเอง ซึ่งยานอนหลับก็เป็นดาบสองคมได้บ่อยๆ ในผู้สูงอายุ จากผลการศึกษาในประชากรผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปที่อยู่ในชุมชน ได้รับความทนทุกข์ทรมานของอาการนอนไม่หลับถึงมากกว่าครึ่ง (ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) ยิ่งกว่านั้นอาการนอนไม่หลับอาจเป็นอาการเตือนของโรคอื่นๆ ทางสมอง ที่สมควรได้รับการตรวจพบและแก้ไข ก่อนที่จะสายเกินไป ทั้งหมดนี้แสดงถึงขนาดของปัญหานอนไม่หลับและความรุนแรงของอาการที่ถึงเวลาแล้วที่เราควรหันมาสนใจอย่างจริงจัง สาเหตุของการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ แบ่งออกได้เป็น 2 สาเหตุใหญ่ๆ คือ 1. เกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของความชรา โดยปกติเมื่อมนุษย์เริ่มเข้าสู่วัยชรา สมองจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมเหมือนเช่นอวัยวะอื่น โดยลักษณะการนอนของผู้สูงอายุจะมีลักษณะดังต่อไปนี้ • ระยะเวลาของการนอนตอนกลางคืนจะลดลง • ...Read More

วิธีรักษาอาการนอนไม่หลับ ตามหลักสากล

การรักษาอาการนอนไม่หลับ คุณควรหาวิธีการบำบัดรักษาหากคุณมีอาการนอนไม่หลับ (insomnia) เป็นประจำ หรือหากมีอาการเหนื่อยล้าอ่อนแรงในระหว่างวัน ซึ่งรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ มีผู้คนมากมายที่เคยประสบปัญหาการนอนหลับยาก (ยกตัวอย่างเช่น ใน 2-3 วันแรกหลังจากเริ่มงานที่ใหม่) แต่หากอาการการนอนไม่หลับเกิดขึ้นยาวนานหรือกลายเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณไปแล้ว คุณไม่ควรชะล่าใจและควรหาทางบำบัดรักษาโดยเร็ว คุณควรเริ่มต้นจากปรึกษาแพทย์ประจำตัวผู้ให้การรักษาเบื้องต้น หรือหยิบยกประเด็นของอาการนอนไม่หลับขึ้นมาแจ้งกับแพทย์ในการนัดตรวจครั้งหน้าหากคุณมีคิวนัดพบแพทย์อยู่แล้ว หากแพทย์มีความรู้เกี่ยวกับความผิดปกติของการนอน เขาจะแนะแนวทางให้กับคุณอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งอาจมีการประเมินผลและการตรวจสอบอาการเพิ่มเติมด้วย หรือแม้แต่การแนะนำให้คุณพบกับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคนอนไม่หลับโดยตรง แพทย์อาจเริ่มต้นโดยการให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการนอนอย่างถูกต้อง ซึ่งแนวทางการปฏิบัติตนเหล่านั้นสามารถช่วยผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับได้ หรือการแนะนำทางเลือกของการบำบัดรักษาด้วยการใช้ยาให้คุณพิจารณา คุณหมออาจแนะนำให้คุณเข้าพบนักจิตบำบัด หากการนอนของคุณกลายเป็นเรื่องยาก และคุณมักต้องใช้ความพยายามในการจัดการกับความกังวล ความหดหู่ หรือการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตของคุณ หากคุณไม่พอใจหลังการปรึกษากับแพทย์ประจำตัว ลองขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านยานอนหลับ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มันเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคุณในการพบแพทย์ที่มีความรู้ และสามารถบำบัดรักษาอาการนอนไม่หลับของคุณได้ 1. การบำบัดรักษาอาการนอนไม่หลับโดยไม่ใช้ยา (การปรับความคิดและพฤติกรรม) มีเทคนิคทางด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมมากมายที่เป็นประโยชน์กับการรักษาอาการนอนไม่หลับ ได้แก่ การฝึกผ่อนคลาย การควบคุมสิ่งเร้า การจำกัดการนอน และการบำบัดความคิดและพฤติกรรม ซึ่งเป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น เทคนิคเหล่านี้สามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ด้วยตัวเอง ในขณะเดียวกัน ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการมากสามารถขอความช่วยเหลือจากนักบำบัดหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับโดยตรงได้เช่นกัน 1.1 การฝึกผ่อนคลาย หรือ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักการเกร็งและการผ่อนคลายกล้ามเนื้อตามจุดต่างๆของร่างกายได้อย่างเป็นระบบ มันจะช่วยให้ร่างกายคุณรู้สึกผ่อนคลายและช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น ...Read More