Author Archive

หลักในการเลือกซื้อเครื่อง CPAP

ถ้าจำเป็นต้องใช้ CPAP เนื่องจากเรามีอาการนอนกรนและมีสภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย (OSA) แล้วเราจะมีหลักในการเลือกซื้อ CPAP อย่างไร วันนี้ทางบริษัท ไม่กรน จำกัด มีคำแนะนำมาฝากกัน 1. เลือกตามยี่ห้อ ยี่ห้อของ CPAP ปัจจุบัน มีเป็น 10 ยี่ห้อ แต่ทุกยี่ห้อก็มีความสามารถในการรักษา OSA ได้ แต่แตกต่างในเรื่องของความสบายในการหายใจออก และหน้ากากที่แตกต่างกัน ยี่ห้อที่จัดได้ว่าเป็น Top Brands ของโลกเหมือน iPhone สำหรับ smart phone คือ ยี่ห้อ Resmed กับ philips ซึ่งแน่นอนว่าตามมาด้วยราคาที่สูงกว่ายี้ห้ออื่น เช่นกัน 2. เลือกตามราคา ในกรณีที่เรามีงบประมาณจำกัด เช่น มีงบประมาณ 20,000 – 25,000 บาท เราจะสามารถเลือกเครื่อง CPAP ได้เฉพาะแบบ maunual CPAP ...Read More

6 วิธีรักษาอาการนอนกรน อย่างได้ผล ที่คุณต้องรู้ก่อนตาย

นอนกรน ทำไงดี? มีผู้คนถามคำถามนี้มากมาย วันนี้เรามี 6 วิธีในการรักษาอาการนอนกรน อย่างได้ผล มาบอกกัน 1. ลดน้ำหนัก ถ้าผู้ป่วยมีน้ำหนักเกิน โดยควรลดให้น้ำหนักอยู่ในระดับที่แพทย์แนะนำ เนื่องจากผู้ที่มีน้ำหนักเกินจะมีไขมันมาพอกรอบคอ หรือทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบ การลดน้ำหนัก จะช่วยลดไขมันดังกล่าว ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนกว้างขึ้น และมีอาการนอนกรน และ/หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับน้อยลง โดยทั่วไปถ้าลดน้ำหนักได้ร้อยละ 10 อาการนอนกรน และ/หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับจะดีขึ้นประมาณร้อยละ 30 (ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) 2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ผู้ป่วยควรขยันออกกำลังกายแบบแอโรบิค คือการออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็วขึ้นต่อเนื่องกัน เช่น วิ่ง, เดินเร็ว, ขึ้นลงบันได, ว่ายน้ำ, ขี่จักรยานฝืด (แบบปรับน้ำหนักได้เช่น ใน FITNESS), เต้นแอโรบิค, เตะฟุตบอล, เล่นเทนนิส, แบดมินตัน หรือบาสเกตบอล อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ซึ่งจะเพิ่มความตึงตัวให้กับกล้ามเนื้อบริเวณคอหอย ทำให้มีการหย่อนและอุดกั้นทางเดินหายใจน้อยลง เพราะเมื่ออายุมากขึ้น เนื้อเยื่อในทางเดินหายใจส่วนบนจะหย่อนมากขึ้นตามอายุ ...Read More

share ประสบการณ์การรักษาอาการนอนกรนที่ รพ. ศิริราช

สวัสดีครับ ผมชือ นายศิวพงษ์ เกียรติเถลิงฤทธิ์ มีอาการนอนกรนมาตั้งแต่ ตอนอยู่ ม.ปลาย คำถามคือ ทำไมผมถึงเลือกที่จะรักษาอาการนอนกรนที่ รพ.ศิริราช? คำตอบคือ บ้านผมอยู่จังหวัดสุพรรณบุรี รพ.ศิริราช เป็นโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด สำหรับโรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญในการรักษาอาการนอนกรนครับ รวมทั้งผมได้ดูรายการ ศิริราช360° [by Mahidol] ทนนอนกรนเสี่ยงถึงตาย จึงตัดสินใจเลือกรักษาที่ รพ.ศิริราช ครับ เพือไม่ให้เป็นการเสียเวลาเริ่มเลยดีกว่า ขั้นแรก เราต้องลงทะเบียนก่อน สมัยนี้สามารถสมัครได้ทาง online ที่: http://www.si.mahidol.ac.th/project/medrecord/ (เราค่อยไปรับบัตรจริงวันที่เราไปพบแพทย์) หลังจากนั้นก็รอรับเลข HN ทาง email ที่เราใช้สมัคร ประมาณ 2-3 วัน ครับ หลังจากนั้นเราก็นำเลข HN ไปจองกับคลินิกนอนกรนที่เบอร์ โทรศัพท์ 0-2419-7835 โดย คุณหมอวิชญ์ บรรณหิรัญ จะตรวจทุกวันศุกร์ครับ เวลา 9.00 – ...Read More

ขั้นตอนการรักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับในประเทศไทย

หลายๆ คนมีอาการนอนกรน แต่ยังไม่ทราบวิธีหรือขั้นตอนการรักษาอาการนอนกรนในประเทศไทย วันนี้ทางบริษัท ไม่กรน จำกัด จะมาเล่าภาพรวมของการรักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับจาก รพ. ศิริราช ให้ท่านฟังครับ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเริ่มเลยละกัน ขั้นตอนการรักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับในประเทศไทย (ราคาขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาล) 1. ทำแบบสอบถามประวัติที่เกี่ยวกับสุขภาพและการนอน (Medical and sleep history) จากนั้นจึงเข้าพบแพทย์เพื่อเล่าอาการเพิ่มเติม ในส่วนที่สำคัญและเกี่ยวข้อง 2. รับการตรวจร่างกาย ตั้งแต่ การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดชีพจรและความดันโลหิต วัดเส้นรอบวงคอ หรือรอบเอว หลังจากนั้น แพทย์จะตรวจร่างกายบริเวณ ศีรษะ ใบหน้า คอ จมูก และช่องปาก อย่างละเอียด เพื่อประเมินลักษณะทางเดินหายใจส่วนต้น รวมถึงตรวจร่างกายทั่วไป เช่นปอด และหัวใจ หรือระบบอื่น ๆ ที่สำคัญและเกี่ยวข้อง 3. ในหลายกรณีอาจต้องตรวจทางจมูกและลำคอของทางการส่องกล้อง (Endoscopy) เป็นการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินหายใจส่วนบน (upper airway endoscopy) เพื่อจะทำให้ทราบถึงตำแหน่ง ...Read More

รู้ยังนอนกรนมี 2 ประเภท

เราสามารถแบ่งประเภทของการนอนกรนได้ 2 ประเภท คือ 1. นอนกรน ชนิดไม่อันตราย ส่งผลโดยตรงต่อ คนที่นอนร่วมห้องเป็นหลัก เป็นการนอนกรนที่ส่งเสียงดัง รบกวนคนที่นอนข้างๆ หรือนอนร่วมห้อง ที่ไม่มีสภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น  (Obstructive Sleep Apnes; OSA) ร่วมด้วย  อาจส่งผลต่อปัญหาชีวิตคู่ เนื่องจากภรรยาทนนอนร่วมห้องไม่ได้ เนื่องจากจะพักผ่อนไม่เพียงพอ (ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) 2. นอนกรน ชนิดอันตราย มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnes; OSA) ร่วมด้วย มีผลกระทบทั้งต่อตัวเองและนอนร่วมห้อง  เนื่องจากร่างกายของผู้ที่นอนกรนจะได้รับออกซิเจนน้อยลง มีงานวิจัยรองรับว่าจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเหล่านี้มากกว่าคนปกติอาทิ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น ถ้าไม่รักษาอาจมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน ทำให้เรียนหรือทำงานได้ไม่เต็มที่  นอนหลับในขณะขับรถอาจเกิดอุบัติเหตุในท้องถนนได้ (ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) ...Read More