ข่าวงานวิจัยใหม่ๆ Archive

เครื่องทำให้เกิดความดันลบในช่องปาก (OPT) คืออะไร?

เครื่องทำให้เกิดความดันลบในช่องปาก (Oral Negative Pressure-Producing Machine): ทางเลือกใหม่สำหรับรักษาอาการนอนกรน และ/หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาการนอนกรน (snoring) และ/หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea: OSA) เกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนบน เวลาผู้ป่วยนอนหงาย เพดานอ่อน, ลิ้นไก่ และโคนลิ้น มักจะถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงให้ตกลงมาอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน เมื่อลมวิ่งผ่านทางเดินหายใจที่แคบ จะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้เกิดเสียงกรนเกิดขึ้น และเมื่อทางเดินหายใจตีบแคบมากจนถึงขนาดที่ลมวิ่งผ่านไม่ได้ ก็จะทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับขึ้น ได้มีการพัฒนาเครื่องซึ่งสามารถทำให้เกิดความดันลบในช่องปากขึ้นมา (oral pressure therapy) หรือ Winx® Device เพื่อใช้รักษาอาการนอนกรน และ/หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ตั้งแต่ความรุนแรงน้อย, ปานกลาง หรือมาก โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องใช้หน้ากากครอบจมูก และ/หรือ ปาก ซึ่งต่อเข้ากับเครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (Continuous Positive Airway Pressure: CPAP) อีกต่อไป เครื่องมือนี้จะทำให้เกิดความดันลบขึ้นมาในช่องปาก ซึ่งความดันลบที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้เพดานอ่อนและลิ้นไก่ ...Read More

มีหลักฐานเพิ่มเติมว่าภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเผาผลาญและการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด

จากผลการวิจัยด้านการนอนหลับที่ทำขึ้นไม่นานนี้พบว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้น หากไม่ได้รับการรักษาภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน อาจทำให้ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ฮอร์โมนความเครียด และความดันโลหิตสูงขึ้นได้ รายงานผลการวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism ฉบับเดือนสิงหาคม ปี 2017 มีเนื้อหาสนับสนุนการใช้เครื่องเป่าความดันลมเพื่อเปิดขยายทางเดินหายใจแบบต่อเนื่อง (continuous positive airway pressure หรือ CPAP) ซึ่งช่วยเพิ่มความดันลมในลำคอเพื่อทำให้ทางเดินหายใจเปิดในระหว่างการนอนหลับ “นี่คืองานวิจัยชิ้นแรกๆ ที่แสดงให้เห็นผลของภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่มีต่อการเผลผลาญได้อย่างทันทีทันใด” นายแพทย์ Jonathan Jun ผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสาขาการแพทย์จาก Johns Hopkins University School of Medicine และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยอาวุโสกล่าว จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Epidemiology และ Lancet Respiratory Medicine พบว่า มีผู้ใหญ่ร้อยละ 20-30 ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive ...Read More

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับและอาการนอนไม่หลับ มีความเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า

การศึกษาพบว่าผู้ชายที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับและนอนไม่หลับมีความรุนแรงของอาการซึมเศร้าสูงกว่าผู้ชายที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือนอนไม่หลับเพียงอย่างเดียว ในการศึกษาของ 700 คนในชุมชนพบว่า ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับและนอนไม่หลับ มีภาวะซึมเศร้าสูงถึง 43% ขณะที่ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับเพียงอย่างเดียว มีภาวะซึมเศร้า  22% นอกจากนี้พบว่าผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับอย่างเดียว มีภาวะซึมเศร้าเพียง  8% Carol Lang, PhD, หัวหน้านักวิจัยด้านการ Respirology กล่าวว่า “ผู้ดูแลขั้นพื้นฐานจำเป็นต้องตระหนักว่าการนอนไม่หลับและภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับมักเกิดขึ้นร่วมกันและเกี่ยวข้องอย่างมากกับผลลัพธ์ด้านสุขภาพจิตที่ไม่ดี “การวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับและการนอนไม่หลับอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพจะช่วยเพิ่มการรับรู้ถึงความผิดปกติของโรคร่วมได้และอาจหลีกเลี่ยงยาตามใบสั่งยาในหลาย ๆ คนได้” ...Read More

ระบบปรับอากาศอาจจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการนอนได้

จากการศึกษาโดยทีมวิจัยร่วมพบว่า กระแสลมจากเครื่องปรับอากาศ จะกระตุ้นร่างกายของมนุษย์ในขณะที่กำลังนอนหลับรวมทั้งยังส่งผลกระทบต่อสภาวะในการนอนหลับอีกด้วย แม้ว่าความเร็วเฉลี่ยของกระแสลมที่ไหลออกมานั้นจะมีค่าต่ำกว่าในระดับที่มนุษย์จะรู้สึกได้ก็ตาม มีรายงานว่าเครื่องปรับอากาศบางชนิด อาจจะส่งผลเสียโดยโดยไม่ได้ตั้งใจต่อคุณภาพในการนอนหลับ แม้ว่าเครื่องปรับอากาศเหล่านั้นจะให้ความรู้สึกสะดวกสบายต่อผู้ใช้งานก็ตาม ซึ่งทีมวิจัยนี้ยังประกอบไปด้วยศาสตราจารย์ Kazuyo Tsuzuki แห่งมหาวิทยาลัย Toyohashi University of Technology ภาควิชาสถาปัตยวิศวกรรมและวิศวกรรมโยธา (Architecture and Civil Engineering) ของสถาบัน National Institute of Advanced Industrial Science and Technology และ Asahi Kasei Homes. สภาวะเมืองร้อน (Urban warming) จะสกัดกั้นอุณหภูมิไม่ให้ลดต่ำลงในเวลากลางคืน ซึ่งจะส่งผลให้ช่วงเวลากลางคืนนั้นร้อนมากและส่งผลกระทบเชิงลบต่อคุณภาพในการนอนหลับ อย่างไรก็ตาม เราสามารถนอนหลับอย่างมีคุณภาพดีได้หากทำการควบคุมอุณหภูมิห้องถูกด้วยเครื่องปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ความเร็วลมในสิ่งแวดล้อมขณะนอนหลับนั้นสามารถถูกปรับค่าได้จากการใช้เครื่องปรับอากาศ แต่อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการวัดค่าความเร็วของลม หรืองานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของลมจากเครื่องปรับอากาศ ทีมวิจัยซึ่งมีศาสตราจารย์ Tsuzuki เป็นสมาชิกของทีม ได้ทำการทดลองโดยให้ผู้เข้าร่วมทดลองนอนหลับในห้องนอน 2 ห้อง ซึ่งมีอุณหภูมิเท่ากันแต่ใช้เครื่องปรับอากาศปรับค่าความเร็วของกระแสลมให้มีค่าแตกต่างกัน ...Read More

การรับแสงในช่วงเวลากลางวันอาจจะมีส่วนช่วยในการต่อต้านผลของการรบกวนการนอนหลับที่มีมาจาก blue light ได้

การใช้โทรศัพท์สมาทโฟน แท็บเลต คอมพิวเตอร์ก่อนนอนมีผลทำให้รบกวนการนอนหลับของมนุษย์ อ้างอิงจากการศึกษาวิจัยจากมหาลัย Uppsala ซึ่งผลการวิจัยนี้ได้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือที่มีชื่อว่า “Sleep Medicine” การจากศึกษา วัยรุ่นทั้งเพศชายและเพศหญิงทั้งหมด 14 คน นักประสาทวิทยา Christian Benedict  และ Frida Rångtell ได้ทำการศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างผลกระทบจากการเล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และการได้รับแสงในช่วงเวลากลางวัน “การทดสอบของเราคือการให้ผู้ทดลองได้รับแสงในช่วงเวลากลางวัน จากนั้นให้ทดลองให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในช่วงเย็นหรือก่อนนอนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ผลการวิจัยค้นพบว่าวัยรุ่นที่มีสุขภาพแข็งแรงนั้น ไม่ได้รับผลจากการรบกวนการนอนหลับที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่นอนหลับอยู่เลย”  Frida Rångtell ผู้เขียนและนักศึกษาปริญญาเอกสาขาประสาทวิทยา มหาลัย Uppsala Christian Benedict ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาประสาทวิทยา มหาลัย Uppsala กล่าวว่า “ผลของการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลากลางวัน ไม่ว่าจะเป็นแสงจากดวงอาทิตย์หรือแสงไฟในออฟฟิศ มีส่วนช่วยในการต้านผลจากการรบกวนในช่วงเวลานอนหลับของมนุษย์ โดยการรบกวนการนอนหลับนี้เป็นผลกระทบที่ได้รับจากการเล่นโทรศัพท์สมาทโฟน แท็บเลต คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ (อุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดแสง Blue light) ก่อนนอน ถึงแม้ว่าเรื่องที่เราศึกษานั้นจะไม่ใช่เรื่องของผลกระทบจากการที่ได้รับแสง Blue light โดยตรงแต่ก็ควรจำไว้ว่าการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอนไม่ว่าจะเป็นการเช็คอีเมล์หรือดูโซเซี่ยลมีเดียต่างๆ ก็มีส่วนในการรบกวนการนอนหลับที่จะทำให้เกิดการกระตุ้นอารมณ์ที่เป็นเหตุทำให้นอนหลับไม่สนิทนั้นเอง ...Read More