ข่าวงานวิจัยใหม่ๆ Archive

การนอนหลับแบบ REM ที่ไม่ดีอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ

การนอนหลับแบบ REM ที่ไม่ดีอาจเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อความคิดวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า การนอนหลับแบบ REM (rapid eye movement – ภาวะนอนหลับที่ตาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว) เป็นระยะนอนหลับที่มีความฝันเกิดขั้นและการขาดการนอนหลับแบบ REM ที่ดีจะเกี่ยวข้องกับอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง แต่งานวิจัยใหม่ๆ ก็ถูกสร้างขึ้นบนความสัมพันธ์ดังกล่าวที่บอกว่าการนอนหลับแบบ REM ที่ไม่ดีและการ “กระสับกระส่าย” ในผู้ป่วยที่นอนไม่หลับอาจหันกลับมาบ่อนทำลายความสามารถของพวกเขาที่จะเอาชนะความทุกข์ทางอารมณ์ เพิ่มความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวลเรื้อรัง “การศึกษาก่อนหน้านี้ได้ชี้ไปที่การนอนหลับแบบ REM โดยผู้สมัครส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์” กล่าวโดยผู้เขียนนำ Rick Wassing เขาเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอกในภาคการนอนหลับและความรู้ความเข้าใจ ที่สถาบันประสาทเนเธอร์แลนด์ในอัมสเตอร์ดัม Wassing สังเกตเห็นเช่นว่าในขณะที่ REM เกิดขึ้น ฮอร์โมนเร้าอารมณ์ที่สำคัญเช่น serotonin, Adrenaline และ Dopamine จะไม่ได้ใช้งาน สิ่งที่เขาเพิ่มอาจบ่งชี้ว่าระหว่างการนอนหลับแบบ REM จะดีเมื่อผลกระทบทางอารมณ์ของความทรงจำมีการประมวลผลและได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง แต่เมื่อการหลับแบบ REM ถูกรบกวนความทุกข์ทางอารมณ์อาจสะสม และ Wassing กล่าวว่าผลการวิจัยในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลานี้ได้สะสม จนในที่สุดก็นำไปสู่การครบ “รอบ” ของ overarousal ในระหว่างการนอนไม่หลับ ...Read More

นอนกรนและภาวะหยุดหายใจมีปัจจัยเชื่อมโยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

(สำนักข่าวรอยเตอร์ส แวดวงสุขภาพ) -จากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับการหายใจในเวลากลางคืนเช่นนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะนอนหลับมักจะมีน้ำตาลในเลือดสูงและมีโอกาสพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นักวิจัยกล่าวว่าจากการเฝ้าติดตามผู้ใหญ่กว่า 6,000 คนในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 10 ปี ชี้ให้เห็นว่าแพทย์ควรตรวจระดับน้ำตาลในเส้นเลือดของกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) “หลักฐานล่าสุดชี้ให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความชุกของโรคภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับมากกว่าบุคคลทั่วไป“ Linn Beate Strand ผู้เขียนรายงานกล่าวทางอีเมล์ “อย่างไรก็ตามผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับสามารถพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของผู้สูงอายุ” Strand กล่าวที่ศูนย์การแพทย์บอสตันเบธ อิสราเอล ดีคอนเนส รายงานจากสถาบันหัวใจ ปอด และเลือดแห่งชาติ ระบุว่าภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจะเกี่ยวข้องกับอัตราอุบัติการณ์คิดได้จากจำนวนครั้งที่เป็นระหว่างการนอนหลับเมื่อระบบทางเดินหายใจปิดคนก็จะหยุดหายใจบ่อยครั้งที่สูดลมหายใจอย่างกะทันหันจะก่อให้เกิดเสียงหายใจที่รุนแรงหรือก่อให้เกิดการสำลักอากาศ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง โดยประมาณ 30 ครั้งต่อชั่วโมง จึงทำให้เกิดการง่วงนอนในตอนกลางวันและยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดในสมอง, โรคหัวใจล้มเหลว, โรคหัวใจเต้นผิดปกติ, โรคเบาหวาน และยังเสี่ยงที่จะเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน นักวิจัยเจาะชี้เป้าไปที่วารสารการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานการศึกษาก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นความผิดปกติด้านการนอนและโรคเบาหวานไปที่คนหนุ่มสาวหรือวัยกลางคนแต่ Strand กล่าวกับ สำนักข่าวรอยเตอร์ส แวดวงสุขภาพ ว่า ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือการนอนกรนถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดจากอายุที่มากขึ้น Strand และเพื่อนร่วมงานได้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลประชากรจำนวน 5,888 คน ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่ได้รับคัดเลือกทั่วสหรัฐอเมริการะหว่างปี 1989 และปี ...Read More

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ “อาจถูกวินิจฉัยผิดพลาดเป็นภาวะซึมเศร้าได้”

ร้อยละ 70 ของผู้ที่อยู่ในสภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจะถูกวินิจฉัยว่าอยู่ในสภาวะซึมเศร้าตามรายงานการวิจัยครั้งล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Sleep Medicine นักวิจัยระบุว่าการค้นพบของพวกเขาบ่งชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ว่าสภาวะการนอนหลับอาจถูกวินิจฉัยผิดพลาดเป็นภาวะซึมเศร้าได้ นักวิจัยพบว่าเครื่อง CPAP ช่วยลดอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ อย่างไรก็ดี การวิจัยยังพบว่าอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับสามารถบรรเทาอาการด้วยการรักษาโดยใช้เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (CPAP) ในสหรัฐอเมริกามีประชากรมากกว่า 25 ล้านคนที่อยู่ในภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับซึ่งภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับนั้นจะมีอาการหยุดหายใจแบบสั้น ๆ แต่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ระหว่างการนอนหลับแน่นอนว่าการนอนกรนเรื้อรังเป็นสัญญาณที่พบบ่อยที่สุดของของผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ การวิจัยก่อนหน้านี้ได้กล่าวว่าผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับมีความเสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่ายหากไม่ได้รับการรักษาและยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกด้วย โรคภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับสามารถรักษาได้โดยใช้เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (CPAP) ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่เป็นที่นิยมที่สุดการรักษาด้วยเครื่อง CPAP นั้น คือการนำหน้ากากมาครอบปากและจมูกระหว่างการนอนหลับโดย เครื่อง CPAP จะปล่อยแรงดันลมเบา ๆ ออกมาทำหน้าที่ขยายช่องทางเดินหายใจให้เปิดกว้าง จากการวิจัยครั้งล่าสุดที่ดร. เดวิด อาร์. ฮิลล์แมนตำแหน่งศาสตราจารย์คลินิกและเพื่อนร่วมงาน ณ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลียได้ทำการศึกษาและสร้างความเข้าใจความชุกของภาวะซึมเศร้าในกลุ่มบุคคลที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับและเพื่อตรวจสอบว่าเครื่อง CPAP มีประสิทธิภาพในการลดอาการเหล่านี้ได้จริง ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับมีความรุนแรงมากเท่าใด ความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าก็มากขึ้นตามนั้น มีอาสาสมัครเข้าร่วมการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 426 ...Read More