รู้ยังนอนกรนมี 2 ประเภท

เราสามารถแบ่งประเภทของการนอนกรนได้ 2 ประเภท คือ

1. นอนกรน ชนิดไม่อันตราย

ส่งผลโดยตรงต่อ คนที่นอนร่วมห้องเป็นหลัก เป็นการนอนกรนที่ส่งเสียงดัง รบกวนคนที่นอนข้างๆ หรือนอนร่วมห้อง ที่ไม่มีสภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น  (Obstructive Sleep Apnes; OSA) ร่วมด้วย  อาจส่งผลต่อปัญหาชีวิตคู่ เนื่องจากภรรยาทนนอนร่วมห้องไม่ได้ เนื่องจากจะพักผ่อนไม่เพียงพอ (ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล)

2. นอนกรน ชนิดอันตราย

มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnes; OSA) ร่วมด้วย มีผลกระทบทั้งต่อตัวเองและนอนร่วมห้อง  เนื่องจากร่างกายของผู้ที่นอนกรนจะได้รับออกซิเจนน้อยลง มีงานวิจัยรองรับว่าจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเหล่านี้มากกว่าคนปกติอาทิ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น ถ้าไม่รักษาอาจมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน ทำให้เรียนหรือทำงานได้ไม่เต็มที่  นอนหลับในขณะขับรถอาจเกิดอุบัติเหตุในท้องถนนได้ (ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล)

229886-Anatomy-of-Obstructive-Sleep-Apnea