ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ “อาจถูกวินิจฉัยผิดพลาดเป็นภาวะซึมเศร้าได้”

ร้อยละ 70 ของผู้ที่อยู่ในสภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจะถูกวินิจฉัยว่าอยู่ในสภาวะซึมเศร้าตามรายงานการวิจัยครั้งล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Sleep Medicine นักวิจัยระบุว่าการค้นพบของพวกเขาบ่งชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ว่าสภาวะการนอนหลับอาจถูกวินิจฉัยผิดพลาดเป็นภาวะซึมเศร้าได้

man-using-cpap

นักวิจัยพบว่าเครื่อง CPAP ช่วยลดอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

อย่างไรก็ดี การวิจัยยังพบว่าอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับสามารถบรรเทาอาการด้วยการรักษาโดยใช้เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (CPAP)

ในสหรัฐอเมริกามีประชากรมากกว่า 25 ล้านคนที่อยู่ในภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับซึ่งภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับนั้นจะมีอาการหยุดหายใจแบบสั้น ๆ แต่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ระหว่างการนอนหลับแน่นอนว่าการนอนกรนเรื้อรังเป็นสัญญาณที่พบบ่อยที่สุดของของผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

การวิจัยก่อนหน้านี้ได้กล่าวว่าผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับมีความเสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่ายหากไม่ได้รับการรักษาและยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกด้วย

โรคภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับสามารถรักษาได้โดยใช้เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (CPAP) ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่เป็นที่นิยมที่สุดการรักษาด้วยเครื่อง CPAP นั้น คือการนำหน้ากากมาครอบปากและจมูกระหว่างการนอนหลับโดย เครื่อง CPAP จะปล่อยแรงดันลมเบา ๆ ออกมาทำหน้าที่ขยายช่องทางเดินหายใจให้เปิดกว้าง

จากการวิจัยครั้งล่าสุดที่ดร. เดวิด อาร์. ฮิลล์แมนตำแหน่งศาสตราจารย์คลินิกและเพื่อนร่วมงาน ณ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลียได้ทำการศึกษาและสร้างความเข้าใจความชุกของภาวะซึมเศร้าในกลุ่มบุคคลที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับและเพื่อตรวจสอบว่าเครื่อง CPAP มีประสิทธิภาพในการลดอาการเหล่านี้ได้จริง

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับมีความรุนแรงมากเท่าใด ความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าก็มากขึ้นตามนั้น

มีอาสาสมัครเข้าร่วมการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 426 คน เป็นเพศชายจำนวน 243 คน และเพศหญิงจำนวน 183 คน ซึ่งอาสมาสมัครทั้งหมดเป็นบุคคลที่ทางศูนย์นิทราเวชของโรงพยาบาลรับรองว่าเป็นผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

น้ำหนักตัวที่มากเกิน โรคอ้วน การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา หรือทางเดินหายใจตอนบนมีขนาดเล็ก ล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

คาดการณ์กันว่าเด็กในสหรัฐอเมริกามีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับร้อยละ  2-3

เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเพียงเล็กน้อย เช่น ลดน้ำหนัก เลิกสูบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็จะสามารถลดความรุนแรงของโรคภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับลงได้

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ผู้เข้าร่วมการศึกษายินยอมรับการประเมินอาการภาวะซึมเศร้าโดยใช้แบบสอบถามสุขภาพผู้ป่วย (PHQ-9)

การวินิจฉัยระดับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจจะวินิจฉัยจาก “การแปลผลการตรวจการนอนหลับ” หรือ “การตรวจวินิจฉัยการนอนหลับ” ซึ่งจะบันทึกคลื่นสมอง ระดับออกซิเจนในเลือด การหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวของตาและขาระหว่างการนอนหลับ

นักวิจัยพบว่าในกลุ่มผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจำนวน 293 คน มีจำนวน 213 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 73 มีอาการของภาวะซึมเศร้ายิ่งภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับมีความรุนแรงมากเท่าใด ความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าก็มากขึ้นตามนั้น

ผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับที่เข้าร่วมการศึกษาจะได้รับการรักษาด้วยเครื่อง CPAP 5 ชั่วโมงต่อคืนเป็นระยะเวลา 3 เดือนมีการบันทึกและติดตามการรักษาและใช้แบบสอบถามสุขภาพผู้ป่วย (PHQ-9) ซ้ำหลังจากหยุดการรักษา เพื่อตรวจสอบอาการภาวะซึมเศร้าของผู้เข้าร่วมรับการศึกษา

นักวิจัยยังพบอีกว่า ผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจำนวน 228 คนที่รักษาด้วยเครื่อง CPAP มีสภาวะเสี่ยงต่ออาการซึมเศร้าลดลงหลังจากผ่านไป 3 เดือน แต่ผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจำนวน 9 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 4 มีภาวะอาการซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญ

ยิ่งไปว่านั้นผู้เข้าร่วมจำนวน 41 คน ที่มีอาการภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ได้รายงานถึงความรู้สึกอยากทำร้ายตนเองหรือเกิดความคิดอยากฆ่าตัวตาย แต่เมื่อได้รับการรักษาด้วยเครื่อง CPAP เป็นระยะเวลา 3 เดือน ในรายงานกลับไม่พบการกล่าวถึงถึงความรู้สึกอยากทำร้ายตนเองแต่อย่างใด

ดร.ฮิลล์แมนและเพื่อนร่วมงานชี้แจงว่า พวกเขามุ่งเน้นในการตรวจคัดกรองบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าเพื่อหาจุดเชื่อมโยงไปยังภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับทั้งนี้ แพทย์เองก็ควรสอบถามอาการผิดปกติระหว่างการนอนหลับของผู้ป่วย อาทิเช่น การหยุดหายใจ การกรน ง่วงนอนตอนกลางวัน และอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับด้วยเช่นกัน

ดร.ฮิลล์แมนยังเพิ่มเติมอีกว่า:

“จากการศึกษาและค้นคว้าทำให้ทราบว่า ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้านั้น ถือเป็นการวินิจฉัยที่ผิดพลาดร้ายแรงมาก”