โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) คืออะไร

พวกเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า การนอนหลับ คือ การพักผ่อนที่ดีที่สุดของเรา ถ้าใครเคยนอนไม่หลับ จากสาเหตุต่างๆ จะพบว่ามันทรมานมาก พลิกตัวไปพลิกตัวมา ก็ยังไม่หลับเสียที โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) คืออะไร โรคนอนไม่หลับ – เป็นอาการนอนไม่หลับหรือหลับลำบาก หรือหลับไม่สนิท ถ้าคุณประสบปัญหาจากโรคนอนไม่หลับ คุณจะรู้ว่าการนอนไม่หลับจะมีผลกระทบกับคุณในช่วงกลางวัน และกลางคืน ทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลียในระหว่างวัน และเป็นสาเหตุให้มีปัญหาในการทำงาน อาการนอนไม่หลับ หลับลำบากหรือหลับไม่สนิท จะพบมากในผู้หญิงและผู้สูงอายุ อาการนอนไม่หลับมีกี่ประเภท? ทางการแพทย์แบ่งประเภทของอาการนอนไม่หลับได้ 3 ประเภท คือ 1. การนอนไม่หลับแบบชั่วคราว (Transient insomnia) คือ การนอนไม่หลับติดต่อกันหลายวัน แต่ไม่ถึงหลายสัปดาห์ ส่วนมากแล้วมักจะเกิดมาจากความเครียด ความกังวลใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น เสียงดัง ส่วนใหญ่แล้วอาการจะดีขึ้นเองในไม่กี่วัน 2. การนอนไม่หลับแบบระยะต่อเนื่อง (Intermittent insomnia) เป็นเวลาหลายสัปดาห์ อาจเกิดจากปัญหา ด้านสุขภาพหรือแม้แต่เครียดมากๆ ต่อปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ คนที่มีอาการเหล่านี้จำเป็นต้องเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื้อรัง ...Read More

นอนกรนและภาวะหยุดหายใจมีปัจจัยเชื่อมโยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

(สำนักข่าวรอยเตอร์ส แวดวงสุขภาพ) -จากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับการหายใจในเวลากลางคืนเช่นนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะนอนหลับมักจะมีน้ำตาลในเลือดสูงและมีโอกาสพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นักวิจัยกล่าวว่าจากการเฝ้าติดตามผู้ใหญ่กว่า 6,000 คนในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 10 ปี ชี้ให้เห็นว่าแพทย์ควรตรวจระดับน้ำตาลในเส้นเลือดของกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) “หลักฐานล่าสุดชี้ให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความชุกของโรคภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับมากกว่าบุคคลทั่วไป“ Linn Beate Strand ผู้เขียนรายงานกล่าวทางอีเมล์ “อย่างไรก็ตามผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับสามารถพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของผู้สูงอายุ” Strand กล่าวที่ศูนย์การแพทย์บอสตันเบธ อิสราเอล ดีคอนเนส รายงานจากสถาบันหัวใจ ปอด และเลือดแห่งชาติ ระบุว่าภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจะเกี่ยวข้องกับอัตราอุบัติการณ์คิดได้จากจำนวนครั้งที่เป็นระหว่างการนอนหลับเมื่อระบบทางเดินหายใจปิดคนก็จะหยุดหายใจบ่อยครั้งที่สูดลมหายใจอย่างกะทันหันจะก่อให้เกิดเสียงหายใจที่รุนแรงหรือก่อให้เกิดการสำลักอากาศ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง โดยประมาณ 30 ครั้งต่อชั่วโมง จึงทำให้เกิดการง่วงนอนในตอนกลางวันและยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดในสมอง, โรคหัวใจล้มเหลว, โรคหัวใจเต้นผิดปกติ, โรคเบาหวาน และยังเสี่ยงที่จะเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน นักวิจัยเจาะชี้เป้าไปที่วารสารการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานการศึกษาก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นความผิดปกติด้านการนอนและโรคเบาหวานไปที่คนหนุ่มสาวหรือวัยกลางคนแต่ Strand กล่าวกับ สำนักข่าวรอยเตอร์ส แวดวงสุขภาพ ว่า ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือการนอนกรนถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดจากอายุที่มากขึ้น Strand และเพื่อนร่วมงานได้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลประชากรจำนวน 5,888 คน ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่ได้รับคัดเลือกทั่วสหรัฐอเมริการะหว่างปี 1989 และปี ...Read More

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ “อาจถูกวินิจฉัยผิดพลาดเป็นภาวะซึมเศร้าได้”

ร้อยละ 70 ของผู้ที่อยู่ในสภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจะถูกวินิจฉัยว่าอยู่ในสภาวะซึมเศร้าตามรายงานการวิจัยครั้งล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Sleep Medicine นักวิจัยระบุว่าการค้นพบของพวกเขาบ่งชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ว่าสภาวะการนอนหลับอาจถูกวินิจฉัยผิดพลาดเป็นภาวะซึมเศร้าได้ นักวิจัยพบว่าเครื่อง CPAP ช่วยลดอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ อย่างไรก็ดี การวิจัยยังพบว่าอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับสามารถบรรเทาอาการด้วยการรักษาโดยใช้เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (CPAP) ในสหรัฐอเมริกามีประชากรมากกว่า 25 ล้านคนที่อยู่ในภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับซึ่งภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับนั้นจะมีอาการหยุดหายใจแบบสั้น ๆ แต่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ระหว่างการนอนหลับแน่นอนว่าการนอนกรนเรื้อรังเป็นสัญญาณที่พบบ่อยที่สุดของของผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ การวิจัยก่อนหน้านี้ได้กล่าวว่าผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับมีความเสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่ายหากไม่ได้รับการรักษาและยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกด้วย โรคภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับสามารถรักษาได้โดยใช้เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (CPAP) ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่เป็นที่นิยมที่สุดการรักษาด้วยเครื่อง CPAP นั้น คือการนำหน้ากากมาครอบปากและจมูกระหว่างการนอนหลับโดย เครื่อง CPAP จะปล่อยแรงดันลมเบา ๆ ออกมาทำหน้าที่ขยายช่องทางเดินหายใจให้เปิดกว้าง จากการวิจัยครั้งล่าสุดที่ดร. เดวิด อาร์. ฮิลล์แมนตำแหน่งศาสตราจารย์คลินิกและเพื่อนร่วมงาน ณ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลียได้ทำการศึกษาและสร้างความเข้าใจความชุกของภาวะซึมเศร้าในกลุ่มบุคคลที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับและเพื่อตรวจสอบว่าเครื่อง CPAP มีประสิทธิภาพในการลดอาการเหล่านี้ได้จริง ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับมีความรุนแรงมากเท่าใด ความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าก็มากขึ้นตามนั้น มีอาสาสมัครเข้าร่วมการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 426 ...Read More

หลักในการเลือกซื้อหน้ากาก CPAP (CPAP Mask)

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าหน้ากาก CPAP เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ใช้งาน CPAP เนื่องจากถ้าผู้ใช้ไม่ชอบ หรือรู้สึกอึดอัด จะส่งผลให้ผู้ใช้ปฏิเสธการใช้งาน CPAP ตามไปด้วย ปัจจุบันหน้ากาก CPAP มีหลายประเภทและหลากหลายยี่ห้อ ผู้ใช้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเลือกชนิดของหน้ากาก ให้เหมาะสมกับปัญหาของแต่ละบุคคลมากที่สุด ด้วยการทดลองใช้งาน หน้ากาก CPAP แต่ละประเภทก่อนที่จะมีการเลือกซื้อ หน้ากาก CPAP (CPAP Mask) โดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. หน้ากากแบบสอดรูจมูก (Nasal Pillow Mask) เป็นหน้ากากที่มีความสบายในการใช้งานมากที่สุด แต่มีข้อจำกัด สำหรับผู้ใช้ที่จำเป็นต้องใช้แรงดันของ CPAP ในการรักษาสูงๆ จะไม่เหมาะสม เราแนะนำให้ใช้กับแรงดันไม่เกิน 10 cmH2O เนื่องจากถ้าแรงดันสูงมากเกินไปจะส่งผลต่อเยื่อบุจมูกได้ง่าย คล้ายกับการฉีดน้ำออกจากท่อที่มีขนาดเล็ก ซึ่งน้ำนั้นจะมีแรงดันสูงนั่นเอง รวมถึงผู้ใช้ที่มีอาการเหล่านี้ ไม่ควรใช้หน้ากากแบบสอดรูจมูก (Nasal Pillow Mask) คือ เป็นไซนัส เป็นภูมิแพ้และคัดจมูกง่าย มีอาการเยื่อบุจมูกอักเสบ เป็นต้น ...Read More

ข้อห้ามและผลข้างเคียงจากการใช้ที่ครอบฟันหรือฟันยางแก้นอนกรน

ปัจจุบัน ทางบริษัท ไม่กรน จำกัด เห็นมีผู้ค้าบางรายเริ่มนำที่ครอบฟันหรือฟันยางแก้นอนกรน (Mandibular advancement splint (MAS) หรือ Mandibular Advancement Devices (MAD)) เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ทางบริษัทต้องการที่จะให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชน โดยทางเราขอแจ้งว่า “การใช้ที่ครอบฟันหรือฟันยางแก้นอนกรน จะต้องถูกใช้ภายใต้การดูแล และติดตั้งโดยแพทย์ผู้ชำนาญเท่านั้น “ เนื่องจากคนไข้ไม่สามารถทราบได้ว่า เราจะต้องเลื่อนกรามล่างของเราไปเป็นระยะเท่าไหร่ อาการนอนกรนของเราถึงจะดีขึ้น นอกจากนี้การใช้ที่ครอบฟันหรือฟันยางแก้นอนกรน มีข้อห้ามในการใช้และผลข้างเคียงที่ผู้ขาย ไม่เคยทราบหรือไม่เคยบอก ดังนี้คือ ข้อห้ามในการใช้: • ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ หากคุณมีอาการสภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบ Central sleep Apnea โดยมีสาเหตุจากการที่สมองไม่ส่งสัญญาณ มาสั่งการให้กล้ามเนื้อสำหรับการหายใจทำงานโดยปกติ • ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ • ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ หากคุณไม่มีฟัน หรือระบบภายในช่องปากไม่ปรกติ, ผู้ที่กำลังจัดฟัน, ผู้ที่ใส่ฟันปลอม และผู้ที่เป็นโรคเหงือกขั้นรุนแรง • ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ หากคุณมีถ้าคุณมีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร Temporomandibular joint ...Read More