บทความเกี่ยวกับการนอน Archive

ระบบปรับอากาศอาจจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการนอนได้

จากการศึกษาโดยทีมวิจัยร่วมพบว่า กระแสลมจากเครื่องปรับอากาศ จะกระตุ้นร่างกายของมนุษย์ในขณะที่กำลังนอนหลับรวมทั้งยังส่งผลกระทบต่อสภาวะในการนอนหลับอีกด้วย แม้ว่าความเร็วเฉลี่ยของกระแสลมที่ไหลออกมานั้นจะมีค่าต่ำกว่าในระดับที่มนุษย์จะรู้สึกได้ก็ตาม มีรายงานว่าเครื่องปรับอากาศบางชนิด อาจจะส่งผลเสียโดยโดยไม่ได้ตั้งใจต่อคุณภาพในการนอนหลับ แม้ว่าเครื่องปรับอากาศเหล่านั้นจะให้ความรู้สึกสะดวกสบายต่อผู้ใช้งานก็ตาม ซึ่งทีมวิจัยนี้ยังประกอบไปด้วยศาสตราจารย์ Kazuyo Tsuzuki แห่งมหาวิทยาลัย Toyohashi University of Technology ภาควิชาสถาปัตยวิศวกรรมและวิศวกรรมโยธา (Architecture and Civil Engineering) ของสถาบัน National Institute of Advanced Industrial Science and Technology และ Asahi Kasei Homes. สภาวะเมืองร้อน (Urban warming) จะสกัดกั้นอุณหภูมิไม่ให้ลดต่ำลงในเวลากลางคืน ซึ่งจะส่งผลให้ช่วงเวลากลางคืนนั้นร้อนมากและส่งผลกระทบเชิงลบต่อคุณภาพในการนอนหลับ อย่างไรก็ตาม เราสามารถนอนหลับอย่างมีคุณภาพดีได้หากทำการควบคุมอุณหภูมิห้องถูกด้วยเครื่องปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ความเร็วลมในสิ่งแวดล้อมขณะนอนหลับนั้นสามารถถูกปรับค่าได้จากการใช้เครื่องปรับอากาศ แต่อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการวัดค่าความเร็วของลม หรืองานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของลมจากเครื่องปรับอากาศ ทีมวิจัยซึ่งมีศาสตราจารย์ Tsuzuki เป็นสมาชิกของทีม ได้ทำการทดลองโดยให้ผู้เข้าร่วมทดลองนอนหลับในห้องนอน 2 ห้อง ซึ่งมีอุณหภูมิเท่ากันแต่ใช้เครื่องปรับอากาศปรับค่าความเร็วของกระแสลมให้มีค่าแตกต่างกัน ...Read More

การงีบส่งผลต่อการนอนหลับอย่างไร?

มนุษย์เป็นหนึ่งใน 15% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีช่วงการนอนหลับเพียงช่วงเดียว (Monophasic sleep) หรือมีการหลับแบบยาวๆ ซึ่งในแต่ละวันของมนุษย์นั้น จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ได้แก่ ช่วงเวลาตื่นและช่วงเวลานอน แต่ในปัจจุบัน คนมีความเครียดและการอดนอนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทำให้ความต้องการงีบในระหว่างวันเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน แต่คำถามคือ เราควรที่จะงีบหลับหรือไม่? การงีบหลับจะไม่ส่งผลเสียต่อการนอนหลับในอีกวันหรือเปล่า? คำตอบคือ มันแล้วแต่สถานการณ์ และขึ้นกับหลายปัจจัย การงีบหลับที่ให้ผลดีนั้นขึ้นกับปัจจัยมากมาย รวมถึงระยะเวลาที่เหมาะสมในการงีบหลับ ซึ่งปัจจัยพื้นฐานได้แก่ อายุ สุขภาพ และประสบการณ์ในการงีบนั่นเอง ตัวอย่างเช่น เด็กเล็ก คนป่วย และคนแก่ มักจะต้องการการงีบหลับบ่อยและนานกว่าคนในวัยทำงานที่มีสุขภาพดี ซึ่งบทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อดี และข้อเสียของการงีบหลับ รวมถึงระยะเวลางีบที่เหมาะสมสำหรับคนวัยทำงานที่มีสุขภาพดีทั่วไป ลักษณะของการงีบหลับ การหลับของคุณ อาจจะเป็นหนึ่งในสามคุณลักษณะของการงีบหลับเหล่านี้ ซึ่งได้แก่ การงีบหลับที่มีการวางแผน หรือเตรียมการเอาไว้แล้ว ซึ่งการงีบหลับแบบนี้ จะทำให้คุณรู้สึกตื่นในเวลากลางคืนมากกว่าในคืนปกติ การงีบหลับจนเป็นนิสัย ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อทำการงีบหลับในเวลาเดิม ของทุกๆวัน การงีบหลับเพราะจำเป็น ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อรู้สึกง่วงเป็นอย่างมาก และไม่สามารถที่จะทำกิจกรรมใดๆต่อไปได้ (ตัวอย่างเช่น การขับรถและทำการจอดรถระหว่างทางเพื่องีบหลับเป็นเวลา 5 ...Read More

3 step ของการแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับ

ขั้นที่ 1. การแก้ปัญหานอนไม่หลับควรเริ่มด้วยตัวเราเองก่อน ด้วยการมีสุขศาสตร์ของการนอนหลับที่ดี ได้แก่ 1. เข้านอนเป็นเวลา ตื่นเป็นเวลา จัดชีวิตทั้งวันให้เป็นเวลา เมื่อไรทานอาหาร เมื่อไรทานยา เมื่อไรออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายคุ้นเคย 2. ไม่นอนอ้อยอิ่งอยู่บนเตียงหลังเวลาตื่นนอนแล้ว 3. ตื่นเมื่อรู้สึกว่านอนพอแล้ว อย่าพยายามนอนต่อเพื่อชดเชยให้กับการอดนอนวันก่อนๆ 4. หลีกเลี่ยงการงีบตอนกลางวัน ถ้าจำเป็นให้งีบสั้นๆ อย่านอนกลางวันนานกว่า 1 ชม. และอย่านอนหลัง 15.00 น.แล้ว 5. ปรับภาพห้องนอนให้น่านอน เอาของรกรุงรังออกไป จัดแสงให้นุ่มก่อนนอน และมดสนิทเมื่อถึงเวลานอน ไม่ให้มีเสียงดัง ระบายอากาศดี ดูแลเครื่องนอนให้แห้งสะอาดไม่อับ และรักษาอุณหภูมิให้สบาย 6. ไม่ใช้ที่นอนเป็นที่ทำงาน ไม่ทำกิจกรรมเช่นดูทีวี อ่านหนังสือ กินของว่าง เล่นไพ่ คิด วางแผน บนที่นอน 7. หยุดงานทั้งหมดก่อนเวลานอนสัก 30 นาที ทำอะไรให้ช้าลงแบบ slow down ...Read More

เสียงส่งผลกระทบต่อวงจรการนอนหลับได้อย่างไร?

ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่ไวต่อเสียงในเวลานอนหลับหรือจะเป็นคนที่ต่อให้ใครมาตะโกนใส่เวลานอนก็ยังไม่ตื่น คุณทราบหรือไม่ว่าเสียงต่างๆ นั้นมีผลกระทบต่อการพักผ่อนและสุขภาพเช่นกัน ลองนึกถึงตอนที่คุณกำลังหลับสนิทอยู่ แล้วอยู่ดีๆ ก็มีเสียงดังขึ้นมากะทันหัน ปลุกคุณให้ตื่นพร้อมกับอาการปวดหัว แม้ว่าจริงๆ อุณหภูมิ กลิ่น ความสบายและเสียงนั้นต่างก็มีความสามารถในการปลุกให้ตื่นจากการนอนหลับทั้งนั้น เสียงมีความสามารถทั้งด้านบวกและด้านลบ ขึ้นอยู่กับประเภทของเสียง ระดับความดังของเสียง ความชอบส่วนบุคคลและปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดเสียง ยกตัวอย่างเช่น เสียงเพลงบรรเลงลื่นหูมีความสามารถกลบเสียงน่ารำคาญตามท้องถนนได้ดี สามารถกลบเสียงกรนได้และสามารถกลบเสียงดังของท่อหรือผนังได้อีกด้วย เสียงเพลงบรรเลงมีความสามารถทำให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น เราจะมาบอกให้คุณทราบว่าเสียงสามารถส่งผลกระทบต่อการนอนของเราทั้งระยะสั้นและระยะยาวได้อย่างไรและค้นหาวิธีการที่จะสามารถปรับปรุงสภาพแวดล้อมเพื่อให้เหมาะสมต่อการนอนหลับให้ดียิ่งขึ้น ผลกระทบของเสียงในระหว่างนอนหลับ ในเวลากลางวันเสียงต่างๆ อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ เทียบกันแล้วกับในเวลากลางคืน ถึงแม้ว่าจะเป็นเสียงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นก็อาจจะเป็นเสียงที่น่ารำคาญมากก็ได้ แม้ว่าคุณเองจะยังไม่ตื่นอย่างเต็มที่ เสียงก็จะรบกวนวงจรการนอนหลับ มีเสียงมากมายที่เป็นสาเหตุทำให้การนอนหลับเป็นไปได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเสียงกระทบของเครื่องครัว เสียงของสัตว์เลี้ยง เสียงของคน เสียงของธรรมชาติฟ้าผ่า เสียงจากการจราจรและเสียงที่เกิดขึ้นในย่านชานเมือง งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร Noise & Health ให้ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมของเสียงในเวลากลางคืนและโรคหัวใจและหลอดเลือดเช่นเดียวงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับเสียงระดับต่ำที่เกิดขึ้นในเวลาหลับจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร ด้วยสภาพแวดล้อมของเสียงต่างๆที่มาจากต้นเหตุของเสียงเช่น เสียงจากการจราจร เสียงรถไฟ เสียงเครื่องบิน เสียงของกังหันลม เสียงเหล่านี้เป็นเสียงที่ทำให้องค์การอนามัยโลกจำเป็นที่จะต้องกำหนดนโยบายเกี่ยวกับเสียงที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ การวิจัยในฝั่งยุโรปกล่าวว่าเสียงที่เป็นเสียงรบกวน (Noise) สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้จริง ๆ องค์การอนามัยโลก ประมาณการว่ามีคนยุโรปสูญเสียอายุไขที่มีสาเหตุมาจากเสียงจราจรรวมๆกันได้กว่า 1 ...Read More

ข้อดีและข้อเสียของการงีบหลับ

การศึกษาเกี่ยวกับการงีบหลับ การศึกษาหนึ่งของ NASA ที่ได้ใช้นักบินอวกาศในการทดลอง พบว่าการงีบหลับเพียง 40 นาทีต่อวันจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากถึง 34% การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการงีบหลับและความดันโลหิต ได้ถูกศึกษาจากเหล่าแพทย์ที่ดูแลเรื่องเกี่ยวกับหัวใจ จากการศึกษาทำให้เราทราบว่า มนุษย์วัยกลางคนที่ได้งีบหลับระหว่างวันจะมีความดันโลหิตต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้งีบหลับ ความแตกต่างของความดันโลหิตนี้มีส่งผลต่อโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจ การวิจัยในกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ยืนยันเกี่ยวกับการค้นพบที่ว่า ผู้สูงอายุที่งีบหลับเป็นประจำจะมีความดันต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้งีบหลับถึง 5% เลยทีเดียว ข้อดีของการงีบหลับ – มีความความตื่นตัวมากขึ้น – ทำให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด – ลดอาการบาดเจ็บ – ทำให้อารมณ์ดีขึ้น – เพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาต่างๆ -ลดอาการหลับในขณะขับรถ – เพิ่มความสามารถด้านความจำ – เพิ่มความปลอดภัยในที่ทำงาน การงีบหลับให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ควรทำอย่างไร? การงีบหลับนั้นเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากในด้านต่างๆ อย่างไรก็ตาม การวางแผนที่ดีนั้นจะทำให้การงีบหลับมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไปอีก วิธีการเหล่านี้คือวิธีการที่จะทำให้การงีบหลับมีประสิทธิภาพมากที่สุด ระยะเวลาในการงีบหลับ: ระยะเวลาที่มีประสิทธิที่ภาพที่สุดในการงีบหลับก็คือ 20 – 30 นาที เป็นระยะเวลาที่ร่างกายกำลังฟื้นตัวพอดีแต่ไม่ได้เข้าระยะเวลาหลับลึกหรือ REM (rapid eye ...Read More