การรักษานอนกรนแบบถูกวิธี เริ่มต้นที่การไปพบแพทย์ที่ รพ. ใกล้บ้าน เพื่อเข้ารับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อแยกว่าเรานอนกรนเป็นแบบไหน และมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะหาวิธีในการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

รักษานอนกรนที่ไหนดี?

1) โรงพยาบาลรัฐ เช่น รพ.จุฬาลงกรณ์, รพ.ศิริราช, รพ.จุฬาลงกรณ์, รพ. รามาธิบดี, รพ. พระมงกุฎ, รพ. ทรวงอก เป็นต้น

2) โรงพยาบาลเอกชน เช่น รพ.กรุงเทพ, รพ.บํารุงราษฎร์, รพ. BNH, รพ. พญาไท เป็นต้น

3) คลินิกรักษานอนกรน  – ราคาแพงกว่า รพ. รัฐ แต่ราคาถูกกว่า รพ. เอกชน

การรักษาอาการนอนกรนแบบถูกวิธีที่เราจะแนะนำนั้น ไม่ใช่การใช้อุปกรณ์แก้นอนกรนที่ไม่ได้ผล ซึ่งมีขายทั่วไปตาม facebook หรือ website ที่ส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน แน่นอนว่าสินค้าเหล่านี้ไม่ปลอดภัย ไม่ผ่าน อย. และไม่มีงานวิจัยรองรับ ตัวอย่างของสินค้ากลุ่มนี้เช่น

  • สเปรย์แก้นอนกรน
  • อุปกรณ์ที่ใส่เข้าไปในรูจมูก
  • สายรัดคางแก้กรน
  • ที่แปะบริเวณจมูก
  • หมอนยางพาราทั่วไปที่ไม่สามารถช่วยให้พลิกตัวได้แบบอัตโนมัติ
  • ยาหรืออาหารเสริมที่อ้างว่าลดอาการนอนกรนได้
  • ฟันยางแก้กรน ที่ไม่ได้ถูกขึ้นรูปและติดตั้งโดยแพทย์

ทำไมเราถึงบอกว่าอุปกรณ์แก้นอนกรนเหล่านี้ไม่ได้ผล?

เพราะสาเหตุของอาการนอนกรนเกิดจากทางเดินหายใจที่ตีบแคบ ดัง video ด้านล่าง แต่สินค้าเหล่านั้นไม่สามารถแก้ไขเกี่ยวกับทางเดินหายใจที่ตีบแคบได้นั่นเอง

อาการนอนกรนยังแบ่งได้อีก 2 แบบ คือ

1. นอนกรน ชนิดไม่อันตราย

ส่งผลโดยตรงต่อคนที่นอนร่วมห้องเป็นหลัก เป็นการนอนกรนที่ส่งเสียงดัง รบกวนคนที่นอนข้างๆ หรือนอนร่วมห้อง อาจส่งผลต่อปัญหาชีวิตคู่ เนื่องจากภรรยาทนนอนร่วมห้องไม่ได้ เนื่องจากจะพักผ่อนไม่เพียงพอ

2. นอนกรน ชนิดอันตราย

เป็นการนอนกรนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnes; OSA) ร่วมด้วย มีผลกระทบทั้งต่อตัวเองและนอนร่วมห้อง เนื่องจากร่างกายของผู้ที่นอนกรนจะได้รับออกซิเจนน้อยลง มีงานวิจัยรองรับว่าจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเหล่านี้มากกว่าคนปกติอาทิ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น ถ้าไม่รักษาอาจมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน ทำให้เรียนหรือทำงานได้ไม่เต็มที่ นอนหลับในขณะขับรถอาจเกิดอุบัติเหตุในท้องถนนได้

Q: แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า อาการนอนกรนของเราเป็นแบบไหน?

A: การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) คือคำตอบ การวินิจฉัยนี้คือส่วนที่สำคัญที่สุดในการรักษาอาการนอนกรน ที่สามารถแยกได้ว่าเรานอนกรนเป็นแบบไหน และมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะหาวิธีในการรักษาที่เหมาะสมต่อไปได้

  • มีตั้งแต่ราคา 3,000-6,000 บาท สำหรับการตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test) และอ่านผลโดยแพทย์
  • ราคา 8,000 บาท สำหรับ รพ.รัฐ แต่อาจต้องรอคิว 3-12 เดือน
  • ราคา 10,000 – 30,000 บาท สำหรับ รพ.เอกชน ข้อดีคือไม่ต้องรอคิวนาน ส่วนใหญ่ไม่เกิน 7 วัน

การรักษาอาการนอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ OSA ร่วมด้วย มี 2 ทางเลือกคือ

1. วิธีไม่ผ่าตัด (90%)

ไม่ได้หายขาด จำเป็นต้องใช้ทุกคืน มองให้เหมือนการสวมแว่นตา สำหรับคนสายตาสั้น

2. วิธีผ่าตัด (10%)

มีโอกาสหายขาด ณ ช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 1-2 ปี  ตัวอย่างเช่น การใช้ RF คือการใช้คลื่นวิทยุช่วยเข้าหดกระชับกล้ามเนื้อ จี้บริเวณเพดานอ่อน (Soft Palate) เป็นต้น เราแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง

แนะนำให้ใช้วิธีไม่ผ่าตัดก่อน ถ้าไม่ดีขึ้น,ไม่ชอบ หรือไม่สะดวก ผู้ป่วยสามารถเลือกวิธีผ่าตัดได้

Q: วิธีการเลือกรักษาแบบไม่ผ่าตัด แบบไหนได้ผลดีที่สุด

A:   ทุกคนควรเริ่มต้นด้วยการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก CPAP (ซีแพพ) ย่อมาจาก Continuous Positive Airway Pressure  โดย CPAP มีหลักการคือ เครื่องจะเป่าลมผ่านทางช่องจมูก และหรือทางปาก เพื่อให้มีความดันลมแรงพอที่ จะเปิดช่องคอซึ่งเป็นทางเดินหายใจส่วนต้นได้ตลอดเวลาขณะนอนหลับ ถือว่าเป็นอุปกรณ์ในการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดในโลก มีงานวิจัยรองรับมากมายทั่วโลก ถ้าสามารถใช้งานได้

ราคาแบบ Auto CPAP มีตั้งแต่ 38,000 – 69,000 บาท ในประเทศไทย ผู้ที่ต้องการใช้ CPAP เราแนะนำให้ซื้อที่ USA ผ่าน website ซึ่งมีราคาถูกในประเทศไทย 2-3 เท่า

(เหมาะกับผู้ที่มีค่า AHI มากกว่า 15 ครั้ง/ชม ขึ้นไป)

Q: ถ้าไม่สามารถใช้ CPAP ได้มีแนวทางในการรักษาต่อไปอย่างไร?

A: ไม่ต้องแปลกใจ คุณทราบหรือไม่ว่ามีเพียง 50% เท่านั้น ที่สามารถใช้ CPAP ได้ เนื่องจากความอัดอัดในการหายใจออกยาก และมีหน้ากาก รวมทั้งดูเหมือนผู้ป่วยในห้อง ICU เป็นต้น

เครื่องมือรักษานอนกรนในช่องปาก หรือ Oral appliance คือตัวเลือกถัดไปสำหรับผู้ที่ใช้ CPAP ไม่ได้ Oral appliance สามารถใช้ได้อย่างง่าย เพียงการให้ผู้ป่วยสวมเครื่องมือในปากขณะนอนหลับ หลักการคือ การยึดลิ้นหรือขากรรไกรมาทางด้านหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นหรือเนื้อเยื่อในลำคอหย่อนลงไปอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ ซึ่งจะทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น วิธีนี้สามารถช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาดังกล่าวนอนหลับได้ดีมากขึ้นโดยที่ ผลการรักษาจะดีในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงหรือ ไม่มีความผิดปกติทางร่ายกาย ข้อดี…คือ ใช้งานง่าย และพกพาได้สะดวก แต่มีข้อเสียคือ คางอาจจะยื่น รวมทั้งอาจมีอาการปวดฟันและกราม

แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า Oral appliance ไม่ได้รับความนิยมมากนักในประเทศไทย แทบไม่พบในโรงพยาบาลชั้นนำ พบเพียงแค่คลินิกรักษานอนกรน 2-3 แห่งเท่านั้น

ราคามีตั้งแต่ 3,900 – 60,000 บาท

(เหมาะกับผู้ที่มีค่า AHI  15 – 30 ครั้ง/ชม)

Q: มีทางเลือกในรักษาแบบไม่ผ่าตัด แบบอื่นอีกไหม?

A: นวัตกรรมในการรักษาอาการนอนกรนแบบใหม่ๆ จะออกมาทุก 3-5 ปี ที่จะแตกต่างจาก CPAP และ Oral appliance วันนี้เราขอแนะนำ iNAP – ทางเลือกใหม่ในการรักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ OSA ที่ไม่มีหน้ากาก หายใจทางจมูกแบบปกติ เด่นที่ความสบายในการใช้งาน มีงานวิจัยรองรับ รายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม : https://www.maikron.co.th/inap/

(เหมาะกับผู้ที่มีค่า AHI 15-50 & BMI < 28 )

ปรึกษาหรือสอบถามเพิ่มเติม:

add line: Line ID: @maikron (ต้องมีเครื่องหมาย @ ด้วยนะครับ)